พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง นายกสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ประกาศพร้อมลาออกจากตำแหน่งนายกสมาคมฟุตบอลฯ โดยเปิดเผยเมื่อวันที่ 1 ก.ค. 66 เจ้าตัวระบุว่า ได้รับแจ้งเนื้อหาการประชุมสมัชชาใหญ่ประจำปี 2565 ของคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทยฯ เมื่อ 30 มิ.ย. ที่ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และประธานคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทยฯ เป็นประธาน ว่า พล.อ.ประวิตร สั่งการให้ ตนเองลาออกจากตำแหน่งเพื่อรับผิดชอบผลงานการแข่งขันฟุตบอล และเหตุการณ์ทะเลาะวิวาทของนักฟุตบอลและสตาฟฟ์โค้ช ในการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ที่ประเทศกัมพูชา ตามคำแนะนำของ พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา นั้น
อ่านข่าว : ด่วน! ‘สมยศ’ ลาออก ตามที่ ‘ประวิตร’ สั่ง บอลไทยส่อโดนแบนทันที
อ่านข่าว : ยันต้องแจงฟีฟ่าสาเหตุ ‘สมยศ’ ลาออก – ประชุมสภานัดสำคัญไม่ล่ม
คำพูดจาก เกมแตกง่าย ใหม่ล่าสุด
สำหรับ พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง อดีต ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เข้ามารับตำแหน่งนายกสมาคมกีฬาฟุตบอลฯ เป็นนายกบอลไทย คนที่ 17 หลังการเลือกตั้งเมื่อเดือน ก.พ. 2559 โดยเอาชนะคู่แข่งสำคัญคือ ชาญวิทย์ ผลชีวิน ที่มีรายงานว่า ได้รับการสนับสนุนจากขั้วอำนาจเดิม จากนั้นในการเลือกตั้งสมัย 2 เมื่อปี พ.ศ. 2563 ลงสมัครชิงตำแหน่ง ก่อนเอาชนะคู่แข่งสำคัญ ภิญโญ นิโรจน์ ดำรงตำแหน่งสมัย 2 ติดต่อกัน ซึ่งการเลือกตั้งครั้งต่อไป จะมีในช่วงปีหน้า ตามข้อบังคับ พล.ต.อ.สมยศ มีโอกาสลงชิงตำแหน่งอีก 1 สมัย โดยที่ผ่านมา พล.ต.อ.สมยศ ไม่ยืนยันชัดเจนว่าจะลงสมัครต่อหรือไม่ ทั้งนี้ พล.ต.อ.สมยศ เป็นเจ้าของวลีเด็ด “ใครไม่อาย ผมอาย” หลังทีมไทย บุกแพ้ ญี่ปุ่น 0-4 เมื่อเดือน มี.ค. 2560 ในฟุตบอลโลกรอบคัดเลือก และต่อมา “ซิโก้” เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง ประกาศลาออกจากตำแหน่งเฮดโค้ชทีมชาติไทย
ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 28 มิ.ย. พล.ต.อ.สมยศ เพิ่งออกแถลงการณ์ระบายความอึดอัด ในการบริหารสมาคมกีฬาฟุตบอลฯ ระบุว่า มีขั้วอำนาจต่างๆ มาแทรกแซง ทั้งการเมือง ธุรกิจ ส่วนตัว ฟุตบอลกลายเป็นเวทีต่อรอง เวทีความขัดแย้ง จนไม่มีคนอยากเข้ามา
นอกจากนี้ ยังมีรายงานว่า กรณีดีลสิทธิประโยชน์ไทยลีกนั้น ก็เป็นปมที่น่าสนใจ รายงานระบุว่า สมาคมฯ เคยตกลงกับบริษัทหนึ่ง 550 ล้านบาทแล้ว แต่มีปัจจัยให้บริษัทดังกล่าวยกเลิกดีลดื้อๆ จนเป็นที่มาให้สโมสรไทยลีกต้องวิ่งวุ่น เตรียมดึงไปบริหารจัดการสิทธิประโยชน์เอง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การที่ พล.ต.อ.สมยศ ประกาศเตรียมลาออก อ้างถึงเป็นคำสั่ง พล.อ.ประวิตร นั้น อาจมีผลให้วงการฟุตบอลไทย โดนแบนในเรื่องการแทรกแซง อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้อยู่ที่การพิจารณาของฟีฟ่า ที่จะตรวจสอบข้อมูลรอบด้าน ทั้งจากการชี้แจงเหตุผล รวมทั้งข่าวสารต่างๆคำพูดจาก เว็บตรงอันดับ1
อดีตที่ผ่านมา มีประเทศที่ถูกแบนจากฟีฟ่า จากการแทรกแซง อาทิ อิรัก โดนแบน จากสาเหตุที่รัฐบาลอิรักสั่งยุบคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ และสหพันธ์กีฬาแห่งชาติ, ปี 2014 ไนจีเรีย โดนแบน เพราะศาลไนจีเรียก็แต่งตั้งให้คนในรัฐบาลเข้ามาบริหารสหพันธ์ฟุตบอลแทน ก่อนยกเลิกโทษแบนใน 1 เดือน, ปี 2015 อินโดนีเซีย โดนแบน หลังจากที่รัฐบาลยกเลิกสมาคมฟุตบอล แล้วจะตั้งสมาคมฟุตบอลขึ้นมาเอง ปีเดียวกัน คูเวต ก็โดนแบน เพราะการเมืองแทรกแซง ซึ่ง อินโดนีเซีย ได้ปลดโทษแบน ปี 2016 ส่วน คูเวต 2017, ปี 2017 ปากีสถาน ถูกแบนจากบุคคลที่ 3 แทรกแซง, ปี 2022 อินเดีย โดนแบน เพราะศาลอินเดียมีคำสั่งยุบสมาคมฟุตบอลอินเดีย ชั่วคราว และแต่งตั้งคณะกรรมการควบคุมแทน เนื่องจาก ปราฟุล พาเตล อดีตนายกสมาคมฯ อยู่ในตำแหน่งเกินวาระและไม่จัดการเลือกตั้งใหม่ เป็นการแทรกแซงจากบุคคลที่ 3 ก่อนจะถูกปลดโทษแบนในเวลาต่อมา.