“ภาษาพาที” แบบเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรยีนชั้น ป.5 กำลังถูกวิพากษ์วิจารณ์การนำเสนอเนื้อหาที่อาจจะไม่เหมาะสม เช่น การบรรยายการกินข้าวเปล่าคลุกน้ำปลา คลุกไข่ต้มแล้วเด็กมีความสุข หรือ การบรรยายที่สื่อถึงการยินดีบริจาคเงินช่วยเหลือเพื่อบรรเทาทุกข์พี่น้องร่วมโลกจนเงินหมด
อย่างไรก็ตาม ล่าสุด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้สั่งให้มีการตรวจสอบเนื้อหา และเตรียมหารือกับผู้เขียนเพื่อแก้ไขเนื้อหาแล้ว
หากพูดถึง “แบบเรียนไทย” คนทั่วไปมักจะนึกถึงหนังสือตำราที่ใช้ในการเรียนการสอนในสถานศึกษา แต่ในสมัยก่อนผู้มีสิทธิ์ศึกษาจะมีเฉพาะผู้ชายและมียศเป็นเจ้านาย บุตรหลานขุนนาง และบุตรหลานของข้าราชการเท่านั้น แต่เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป บุคคลทั่วไปก็สามารถเข้าถึงการศึกษาได้มากขึ้น และแบบเรียนไทยก็มีการพัฒนาตามยุคสมัยเช่นกัน โดยในวันนี้เราจะมาเล่าถึงแบบเรียนไทยตั้งแต่อดีต – ปัจจุบันกันค่ะ
โดย แบบเรียนเล่มแรก เกิดขึ้นในสมัยยุคของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชรับสั่งให้พระโหราธิบดีแต่งหนังสือจินดามณีขึ้น ถือเป็นตำราเรียนหลักภาษาไทยเล่มแรกของไทย แต่ที่นับกันว่าเป็นแบบเรียนหลวง คือในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงเรียนหลวงแห่งแรกในพระบรมมหาราชวัง เมื่อ พ.ศ. 2414 และโปรดให้พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) แต่งหนังสือแบบเรียนไทยเป็นชุดแบบเรียนหลวง 6 เล่ม
และได้มีการพัฒนามาเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็น แบบเรียนเร็ว ที่แต่งขึ้นมาใช้แทนแบบเรียนหลวง แบบสอนอ่านของกรมศึกษาธิการ เป็นบทเรียนสั้นๆ ใช้ถ้อยคำง่าย ประโยคไม่ซับซ้อน เนื้อหามุ่งทบทวนกฎเกณฑ์ทางด้านภาษาคล้ายกับหนังสืออ่านเสริมประสบการณ์ชีวิต จนมาถึงยุคที่การออกพระราชบัญญัติประถมศึกษา แผนการศึกษา อย่างเป็นทางการ ไล่มาจนถึงปัจจุบัน
แบบเรียนสมัยพระราชบัญญัติประถมศึกษา – ปัจจุบัน ใน พ.ศ.2464 มีการออกพระราชบัญญัติประถมศึกษา แผนการศึกษา และการจัดหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาให้เป็นระเบียบมากยิ่งขึ้น ทำให้มีการปรับปรุงหลักสูตรต่างๆ รวมถึงแบบเรียนอย่างสม่ำเสมอ แบบเรียนสำคัญๆ ในยุคนี้ ประกอบด้วย
แบบเรียนสยามไวยากรณ์ (หลักภาษาไทย) ของพระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ)
กรมศึกษาธิการได้สร้างแบบเรียนไวยากรณ์ไทยขึ้นโดยนำรูปแบบโครงสร้างภาษาอังกฤษมาใช้ในภาษาไทย เดิมเรียบเรียงขึ้นมี 2 เล่มคือ อักขรวิธีและวจีวิภาค ต่อมากระทรวงธรรมการแต่งตำราวากยสัมพันธ์เพิ่มอีกหนึ่งเล่ม เมื่อคราวที่พระยาอุปกิตศิลปะสารได้รับเชิญให้แสดงปาฐกถาเกี่ยวกับหลักภาษาไทยที่สามัคยาจารยสโมสร จึงได้เรียบเรียงเนื้อหาจากของเดิมและแต่งบางเรื่องเพิ่มเป็นหนังสือ 4 เล่ม คือ อักขรวิธี วจีวิภาค วากยสัมพันธ์ ฉันทลักษณ์ ซึ่งเป็นตำราหลักภาษาไทยที่ใช้สืบมาจนถึงปัจจุบัน
แบบหัดอ่านหนังสือไทยของพระวิภาชน์วิทยาสิทธิ์ (สังข์ พุกกะเวส)
เป็นแบบเรียนสำหรับฝึกหัดการอ่าน ลักษณะเด่นของหนังสือเล่มนี้ที่ต่างจากแบบเรียนเล่มก่อน ๆ คือ มีภาพ ประกอบเนื้อหาและมีคำชี้แจงวิธีสอนกับวิธีอ่านอย่างชัดเจน แบบหัดอ่านหนังสือไทยนี้ใช้เป็นแบบเรียนบังคับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ตั้งแต่สมัยออกพระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ.2464 จนถึง พ.ศ.2480 แล้วกระทรวง ศึกษาธิการได้กลับมาประกาศให้ใช้อีกใน พ.ศ.2499 และเลิกใช้เมื่อ พ.ศ.2520
แบบเรียนเร็วใหม่ของหลวงดรุณกิจวิฑูร (ชด เมนะโพธิ) และ นายฉันท์ ขำวิไล
เป็นแบบเรียนสำหรับนักเรียนเริ่มอ่านภาษาไทยในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ 2 ในช่วง พ.ศ.2480 จนถึง พ.ศ.2498 โดยใช้ต่อจากแบบหัดอ่านหนังสือไทยของพระวิภาชน์วิทยาสิทธิ์ แบ่งออกเป็น 3 ตอน คือ ตอนต้น ตอนกลาง ตอนปลาย
แบบสอนอ่านมาตรฐานของนายยง อิงคเวทย์
เป็นแบบเรียนสำหรับใช้สอนหนังสือแก่เด็กเริ่มเรียนตามแนวใหม่คือ การสอนเป็นคำแทนที่จะสอนให้ สะกดทีละตัวเหมือนแบบเรียนเล่มก่อนๆ คำที่นำมาใช้สอนเป็นคำง่ายๆ ซึ่งเด็กใช้ในชีวิตประจำวันเรียกว่า “คำมาตรฐาน” การแต่งประโยคเป็นประโยคสั้นๆ ใช้คำเดิมซ้ำกันบ่อยๆ แล้วจึงเพิ่มคำใหม่เข้าไปในประโยค การแต่งเรื่องมีทั้งเรื่องสั้น นิทาน คำประพันธ์ แทรกข้อคิดและการอบรมสั่งสอนพร้อมภาพประกอบ
แบบเรียนชุดบันไดก้าวหน้าของนายกี่ กีรติวิทโยฬาร แบบเรียนชุดบันไดก้าวหน้า (เรณู – ปัญญา)
กระทรวงศึกษาธิการให้ใช้เป็นแบบเรียนบังคับใน พ.ศ.2498 – 2499 ใช้ได้เพียงปีเดียวก็ยกเลิกเนื่องจากถูกวิจารณ์ว่าไม่มีการสอนสะกดคำ ทำให้เด็กอ่านหนังสือ ไม่ออกเมื่อเรียนจบเล่มแล้วเพราะใช้การจำเป็นคำๆ แต่กระทรวงศึกษาธิการก็ยังให้ใช้เป็นแบบเรียนเพิ่มเติม เนื้อหาแบ่งเป็น 4 เล่มคือ
- เล่ม 1 ตอนเริ่มอ่าน เรื่องไปโรงเรียน
- เล่ม 2 ตอนต้น เรื่องฝนตกแดดออก
- เล่ม 3 ตอนกลาง เรื่องเที่ยวรถไฟ (ต้นทาง)
- เล่ม 4 ตอนกลาง เรื่องเที่ยวรถไฟ (ปลายทาง)
หนังสือดรุณศึกษาของ ภราดา ฟ.ฮีแลร์
เป็นตำราเรียนภาษาไทยที่ ภราดา ฟ.ฮีแลร์ นักบวชชาวฝรั่งเศสในคณะเซนต์คาเบรียล โรงเรียนอัสสัมชัญ บางรัก แต่งและเรียบเรียงขึ้นตั้งแต่ พ.ศ.2453 หลังจากที่ได้พำนักอยู่ในประเทศไทยได้เพียง 9 ปี หนังสือดรุณศึกษาใช้ในวงแคบเฉพาะโรงเรียนของเครือคริสตจักรเท่านั้น ต่อมาปรากฏว่าเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเล่มแรกสำหรับชั้นเตรียมประถมยังใช้เรียนในโรงเรียนต่างๆ จนถึงปัจจุบัน
หนังสือชุด “นิทานร้อยบรรทัด”
แต่งขึ้นในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม มาปรับปรุงเนื้อหาและแต่งเพิ่มเติมบางส่วน ก่อนจะพิมพ์เล่มแรกใน พ.ศ.2501 โดยนิทานร้อยบรรทัดมีทั้งหมด 6 เล่ม ได้แก่
- เรื่องบ้านที่น่าอยู่ ตอนที่ 1
- บ้านที่น่าอยู่ ตอนที่ 2
- ครูที่รักเด็ก
- ประเทศเล็กที่สมบูรณ์
- ตระกูลไทยที่คงไทย
- ประชาธิปไตยที่ถาวร
หนังสือชุดนี้เรียบเรียงโดยหลวงสำเร็จวรรณกิจ (บุญ เสขะนันทน์) เพื่อใช้เป็นแบบเรียนภาษาไทยสำหรับชั้นประถม ประกอบด้วย
แบบเรียนไทย มานะ มานี ปิติ ชูใจ
กระทรวงศึกษาธิการ เห็นว่าแบบเรียนภาษาไทย ชุดที่ใช้อยู่ก่อนหน้านั้น มีเนื้อหาที่ไม่ทันต่อยุคสมัย จึงต้องการปรับปรุงหลักสูตรใหม่ โดยวางวัตถุประสงค์ให้นักเรียนอ่านแล้ว มีความรู้สึกสนุกสนาน เพื่อกระตุ้นให้อยากเรียนภาษาไทย แบบเรียนชุดนี้ ใช้เวลาเขียนอยู่นานกว่า 4 ปี มุ่งให้ความรู้ทางภาษาไทย ทั้งการฟัง พูด อ่าน เขียน หลังจากนั้นจึงนำมาปรับปรุง และทดลองใช้เรียนจนแน่ใจว่า เนื้อหาที่นักเรียนประถมทั้งประเทศ ต้องอ่านเพื่อใช้ศึกษา เป็นเรื่องราวอันบริสุทธิ์ดีงาม ไม่เป็นพิษเป็นภัย โดยเริ่มใช้เรียนระหว่าง พ.ศคำพูดจาก สล็อตวอเลท. 2521 – 2537 (หลายโรงเรียน เรียนรุ่นสุดท้ายปี 2534) จะตรงกับคนที่เกิดในปี พ.ศ. 2514 – 2530
แบบเรียนไทย กล้า แก้ว
แบบเรียนชุดนี้ได้รับการกล่าวถึงมากที่สุด เพราะมีเทคนิคการเขียนที่ดี ด้วยการผูกเรื่องราวของตัวละครอย่าง มานะ มานี ปิติ ชูใจ ให้เติบโตไปพร้อมๆ กับเด็กนักเรียน โดยใช้ฉากหมู่บ้านในชนบทที่สงบสวยงามตามอุดมคติ โดยแบบเรียนชุดนี้ได้แฝงความคิดเรื่องชาติและหน้าที่ของพลเมืองที่ดีไว้อย่างเข้มข้นไม่แพ้แบบเรียนชุดอื่นๆ โดยเสนอจินตภาพของชาติเหมือนหมู่บ้านขนาดใหญ่ ปราศจากปัญหาเชิงโครงสร้าง มีแต่เพียงปัญหาที่เกิดจากศีลธรรมเสื่อมทราม เช่น ปัญหาการตัดไม้ เพราะความโลภของนายทุนบางคน และการดำเนินชีวิตในแบบเรียนชุดนี้ จะมีความรักชาติบ้านเมืองเป็นแรงผลักดันที่สำคัญอยู่เสมอ โดยเริ่มใช้เรียนระหว่าง พ.ศ. 2535 – 2554 (หลายโรงเรียน เรียนรุ่นสุดท้ายปี 2550) ตรงกับคนที่เกิดในปี พ.ศ. 2528 – 2547
แบบเรียนไทย ภาษาพาที
ในปีพ.ศ. 2551 กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศใช้หนังสือแบบเรียนภาษาไทยชุดใหม่ชื่อ “ภาษาพาที” โดยมีตัวละครหลักเป็นเด็กชายภูผา กับช้างเพื่อนรักอีก 2 ตัวคือใบโบกและใบบัว นอกจากนี้ ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า จึงมีการพัฒนาแบบเรียนชุดนี้ให้มีความทันสมัยมากขึ้น โดยมีการพัฒนาสื่อการเรียนรู้แบบดิจิตอลให้เด็กๆ สามารถดูการ์ตูนอนิเมชั่นประกอบบทเรียนในแต่ละบทได้ โดยภาษาพาทีถือเป็นแบบเรียนในยุคปัจจุบัน โดยเริ่มใช้เรียนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 เป็นต้นมา ซึ่งจะตรงกับคนที่เกิดในปีพ.ศ. 2544 ขึ้นไป นั่นเอง
ที่มาเนื้อหาและภาพจากหอสมุดแห่งชาติและ วิกิพีเดีย